การสถาปนากรุงศรีอยุธยา
ในการศึกษาประวัติศาสตร์ทำให้เราทราบว่าบรรพบุรุษของไทยเป็นผู้สถาปนา อาณาจักรสุโขทัยขึ้นในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนบน และในช่วงเวลาที่อาณาจักรสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจลง อาณาจักรอยุธยาก็สถาปนาขึ้น และดำรงอยู่เป็นราชธานีตลอดระยะเวลา 417 ปี จนกระทั่งกรุงศรีอยุธยาเสียอิสรภาพให้แก่พม่า ในปี พ.ศ. 2310 แล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้กอบกู้เอกราชของไทยคืนมา และสถาปนากรุงธนบุรีขึ้นเป็นราชธานีแห่งใหม่ อาณาจักรธนบุรีดำรงอยู่มาได้ 15 ปี ก็สิ้นสุดแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ต่อมาในปี พ.ศ. 2325 สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนาพระราชวงศ์จักรีขึ้นปกครองแผ่นดินและตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็น ราชธานีแห่งใหม่ของไทยสืบต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้
อาณาจักรอยุธยาสถาปนาขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1893 และดำรงความเป็นอาณาจักรไว้ได้นานถึง 417 ปี ย่อมต้องมีรากฐานทางสังคมและวัฒนธรรมที่เข้มแข็งพอสมควร ดังนั้นการศึกษาประวัติศาสตร์ในสมัยอยุธยาจึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อการศึกษา ประวัติศาสตร์ของไทยเป็นอย่างยิ่ง
1. ผู้ก่อตั้งอาณาจักรอยุธยา
ก่อนที่พระเจ้าอู่ทองจะเสด็จมาสร้างกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พศ. 1893 ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าพระองค์มีเชื้อสายมาจากราชวงศ์ใด และมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่เมืองใด แต่มีข้อสันนิษฐานว่า พระเจ้าอู่ทองสืบเชื้อสายมาจากทางเหนือ ตอนบนของแม่น้ำเจ้าพระยา ก่อนที่จะอพยพมาสร้างกรุงศรีอยุธยา
ส่วนความคิดเห็นหนึ่งก็ว่า พระเจ้าอู่ทองอยู่ที่เมืองอโยธยา และทรงอพยพไพร่พลหนีโรคระบาดข้ามฝั่งแม่น้ำมาสร้างกรุงศรีอยุธยา
นอกจากนี้ยังมีความคิดเห็นที่แตกต่างออกไปว่า พระเจ้าอู่ทองซึ่งเป็นฝ่ายละโว้ได้อภิเษกสมรสกับพระราชธิดาของกษัตริย์แห่ง สุพรรณภูมิ เพื่อจุดมุ่งหมายทางการเมืองที่จะสร้างความมั่นคงให้กับอาณาจักร
ต่อมาเมื่อเมืองอู่ทองเกิดโรคระบาด เกิดภัยธรรมชาติ ผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก พระเจ้าอู่ทองจึงอพยพผู้คนไปยังทำเลที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์ (เชื่อกันว่าเป็นบริเวณที่เป็นวัดพุทไธสวรรย์ในปัจจุบัน) ทรงสร้างเมืองใหม่ที่บริเวณหนองโสนหรือบึงพระราม แล้วสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีในปี พ.ศ. 1893 ทรงพระราชทานนามพระนครว่า "กรุงเทพทวารวดี ศรีอยุธยา" พระเจ้าอู่ทองเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นปฐมกษัตริย์ต้นราชวงศ์อู่ทอง ทรงพระนามว่า "สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1"
2. ที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยา
กรุงศรีอยุธยามีที่ตั้งที่เหมาะสม เนื่องจากมีแม่น้ำสำคัญไหลผ่านถึง 3 สาย ได้แก่
แม่น้ำลพบุรี ไหลจากทางทิศเหนืออ้อมไปทางทิศตะวันตก
แม่น้ำป่าสัก ไหลผ่านจากทิศตะวันออก
แม่น้ำเจ้าพระยา ไหลจากทิศตะวันตกอ้อมไปทางทิศใต้
แม่น้ำทั้ง 3 สายนี้ ไหลมาบรรจบกันล้อมรอบราชธานี ทำให้กรุงศรีอยุธยามีลักษณะเป็นเกาะที่มีสัณฐานคล้ายเรือสำเภา คนทั่วไปจึงเรียกอยุธยาว่า "เกาะเมือง" อยุธยามีทำเลทางภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมกับการเป็นราชธานี ดังนี้
1. เป็นที่มีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเพาะปลูก
2. สะดวกแก่การคมนาคม เพราะตั้งอยู่ในเส้นทางค้าขาย ติดต่อกับหัวเมืองอื่น ๆ รวมทั้งสามารถติดต่อค้าขายกับต่างประเทศทางทะเลได้สะดวก เพราะตั้งอยู่ตรงที่แม่น้ำใหญ่หลายสายไหลมาบรรจบกัน รวมเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาไหลออกอ่าวไทย เรือเดินทะเลสามารถแล่นจากปากแม่น้ำเข้ามาทอดสมอได้ถึงหน้าเมือง ทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นชุมทางการค้าขายที่สำคัญ
3. มีความเหมาะสมด้านยุทธศาสตร์ กล่าวคือ เมื่อมีข้าศึกยกทัพมาตี ข้าศึกจะสามารถตั้งค่ายล้อมเมืองได้ถึงฤดูแล้งเท่านั้น เพราะเมื่อถึงฤดูน้ำหลาก น้ำจะหลากท่วมขังบริเวณรอบตัวเมือง ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการที่ข้าศึกจะยกทัพเข้าโจมตีและทำให้ขาดแคลนเสบียง อาหาร ข้าศึกจึงต้องถอยทัพกลับไป
สภาพทำเลที่ตั้งของกรุงศรีอยุธยาที่มีความเหมาะสมดังกล่าว ทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นนครราชธานีอันยิ่งใหญ่ของชาติไทยมายาวนานตลอด 417 ปี (พ.ศ. 1893 - 2310) และมีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์อย่างเห็นได้ชัดทั้งทางด้านการเมืองการ ปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และศิลปวัฒนธรรม
3. รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ตลอดระยะเวลา 417 ปี ที่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของไทย ได้มีพระมหากษัตริย์ปกครองสืบต่อกันมา 5 ราชวงศ์ รวมทั้งสิ้น 33 พระองค์
1. พระราชวงศ์อู่ทอง
- สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระจ้าอู่ทอง) ครองราชย์ พ.ศ. 1893 - 1912
- สมเด็จพระราเมศวร ครองราชย์ พ.ศ. 1912 - 1913 และ พ.ศ. 1931 - 1938
- สมเด็จพระรามราชาธิราช ครองราชย์ พ.ศ. 1938 - 1952
2. สุพรรณภูมิ
- สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพ่องั่ว) ครองราชย์ พ.ศ. 1913 - 1931
- สมเด็จพระเจ้าทองลัน (ทองจันทร์) ครองราชย์ พ.ศ. 1931 - 1931
- สมเด็จพระอินทราธิราช (เจ้านครอินทร์) ครองราชย์ พ.ศ. 1952 - 1967
- สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ครองราชย์ พ.ศ. 1967 - 1991
- สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ครองราชย์ พ.ศ. 1991 - 2031
- สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 ครองราชย์ พ.ศ. 2031 - 2034
- สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ครองราชย์ พ.ศ. 2034 - 2072
- สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (หน่อพุทธางกูรหรือพระอาทิตยวงศ์) ครองราชย์ พ.ศ. 2072 - 2076
- สมเด็จาพระรัษฎาธิราชราชกุมาร ครองราชย์ พ.ศ. 2076 - 2077
- สมเด็จพระไขยราชาธิราช ครองราชย์ พ.ศ. 2077 - 2089
- สมเด็จพระยอดฟ้า (พระแก้วฟ้า) ครองราชย์ พ.ศ. 2089 - 2091
- สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ครองราชย์ พ.ศ. 2091 - 2111
- สมเด็จพระมหินทราธิราช ครองราชย์ พ.ศ. 2111 - 2112
3. สุโขทัย
- สมเด็จพระมหาธรรมราชา ครองราชย์ พ.ศ. 2112 - 2133
- สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ครองราชย์ พ.ศ. 2133 - 2148
- สมเด็จพระเอกาทศรถ ครองราชย์ พ.ศ. 2148 - 2163
- สมเด็จพระศรีเสาวภาคย์ ครองราชย์ พ.ศ. 2163 - 2163
- สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ครองราชย์ พ.ศ. 2163 - 2173
- สมเด็จพระเชษฐาธิราช ครองราชย์ พ.ศ. 2171 - 2173
- สมเด็จพระอาทิตยวงศ์ ครองราชย์ พ.ศ. 2173 - 2173
4. ปราสาททอง
- สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ครองราชย์ พ.ศ. 2173 - 2198
- สมเด็จเจ้าฟ้าไชย ครองราชย์ พ.ศ. 2198 - 2199
- สมเด็จพระสุธรรมราชา ครองราชย์ พ.ศ. 2199 - 2199
- สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ครองราชย์ พ.ศ. 2199 - 2231
5. บ้านพลูหลวง
- สมเด็จพระเพทราชา ครองราชย์ พ.ศ. 2231 - 2245
- สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) ครองราชย์ พ.ศ. 2245 - 2252
- สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 (พระเจ้าท้ายสระ) ครองราชย์ พ.ศ. 2252 - 2275
- สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ครองราชย์ พ.ศ. 2275 - 2301
- สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (ขุนหลวงหาวัด) ครองราชย์ พ.ศ. 2301 - 2301
- สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ) ครองราชย์ พ.ศ. 2301 - 2310
ที่มา :
เอกรินทร์ สี่มหาศาล และคณะ . ประวัติศาสตร์ ป.5 . พิมพ์ครั้งที่ 3 . กรุงเทพ ฯ : อักษรเจริญทัศน์
yui
วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
แผนที่
แผนที่
แผนที่ คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อแสดงลักษณะและที่ตั้งของสิ่งต่าง ๆ
ที่ปรากฏอยู่บนผิวโลก ด้วยการย่อให้เล็กลงตามต้องการ
โดยใช้สัญลักษณ์และเครื่องหมายที่กำหนดขึ้นแทนสิ่งต่าง ๆ
ลงในวัสดุพื้นแบนราบ
ชนิดของแผนที่
๑) แผนที่ทางกายภาพ เป็นแผนที่ที่แสดงถึงสภาพภูมิประเทศ
เช่น ที่ราบ ที่ราบสูง เนินเขา เทือกเขา ทะเล แม่น้ำ เกาะ
๒) แผนที่รัฐกิจ เป็นแผนที่ที่แสดงรายละเอียดในการปกครอง
โดยแสดงอาณาเขตของประเทศ จังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน
๓) แผนที่เศรษฐกิจ เป็นแผนที่ที่แสดงข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งเศรษฐกิจ
และการประกอบอาชีพในแต่ละภูมิภาค เช่น เขตเกษตรกรรม เขตอุตสาหกรรม
๔) แผนที่เฉพาะเรื่อง หรือ แผนที่เฉพาะกิจ เป็นแผนที่ที่จัดขึ้นโดยแสดง
เฉพาะรายละเอียดที่ต้องการเท่านั้น
เช่น แผนที่แสดงเส้นทางรถยนต์ รถไฟ เครื่องบิน
แผนที่ประวัติศาสตร์ เป็นแผนที่ที่แสดงเส้นทางการอพยพ การเดินทัพ
และความเป็นมาทางประวัติศาสตร์

ที่มา :
เอกรินทร์ สี่มหาศาล และคณะ . สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ป.5. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพ ฯ : อักษรเจริญทัศน์
แผนที่ คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อแสดงลักษณะและที่ตั้งของสิ่งต่าง ๆ
ที่ปรากฏอยู่บนผิวโลก ด้วยการย่อให้เล็กลงตามต้องการ
โดยใช้สัญลักษณ์และเครื่องหมายที่กำหนดขึ้นแทนสิ่งต่าง ๆ
ลงในวัสดุพื้นแบนราบ
ชนิดของแผนที่
๑) แผนที่ทางกายภาพ เป็นแผนที่ที่แสดงถึงสภาพภูมิประเทศ
เช่น ที่ราบ ที่ราบสูง เนินเขา เทือกเขา ทะเล แม่น้ำ เกาะ
๒) แผนที่รัฐกิจ เป็นแผนที่ที่แสดงรายละเอียดในการปกครอง
โดยแสดงอาณาเขตของประเทศ จังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน
๓) แผนที่เศรษฐกิจ เป็นแผนที่ที่แสดงข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งเศรษฐกิจ
และการประกอบอาชีพในแต่ละภูมิภาค เช่น เขตเกษตรกรรม เขตอุตสาหกรรม
๔) แผนที่เฉพาะเรื่อง หรือ แผนที่เฉพาะกิจ เป็นแผนที่ที่จัดขึ้นโดยแสดง
เฉพาะรายละเอียดที่ต้องการเท่านั้น
เช่น แผนที่แสดงเส้นทางรถยนต์ รถไฟ เครื่องบิน
แผนที่ประวัติศาสตร์ เป็นแผนที่ที่แสดงเส้นทางการอพยพ การเดินทัพ
และความเป็นมาทางประวัติศาสตร์

ที่มา :
เอกรินทร์ สี่มหาศาล และคณะ . สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ป.5. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพ ฯ : อักษรเจริญทัศน์
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)